วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

ล้วงความลับจากตำนานโบราณ ไขความจริงที่ถูกซ่อนไว้ได้อย่างไร?

บทความนี้ผมขอแนะนำเกี่ยวกับการศึกษา "ตำนานโบราณ" ครับ ซึ่งไม่ใช่ของง่ายๆ เลย เพราะมันล่วงเลยผ่านเวลามานานแสนนานแล้ว ไม่สามารถพิสูจน์อะไรได้ทั้งหมด ใครจะไปรู้ละครับว่าอะไรจริงแท้หรือไม่จริง? สุดท้าย มันก็ขึ้นอยู่กับ "ศิลปะ" ของแต่ละคน ว่าจะนำเอาข้อมูลโบราณที่บรรพบุรุษของโลกเรา ทิ้งไว้ให้เป็นมรดกนี้ ไปใช้อย่างไร? หรือจะมองผ่านเลยไป เพียงเพราะคิดว่า "บรรพบุรุษโง่เง่า" ล้าหลัง งมงาย เชื่ออะไรไม่ได้เรื่อง ผิดทุกประตู เราทันสมัยเจ๋งกว่า และถูกต้องทั้งหมด เลย ไม่สนใจเรื่องพวกนี้ สรุปง่่ายๆ ว่ามันงมงาย เป็นเรื่องไม่จริง เป็นความหลง ความเข้าใจผิด หรือจินตนาการไปเองของคนโบราณ? เอาละ ถ้าคุณไม่ได้ด่้วนสรุปเช่นนั้น ยังมีใจเปิดกว้างพร้อมเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ไปด้วยกัน บทความนี้อาจเป็นประโยชน์ครับ 


อย่างแรกผมอยากอธิบายเรื่องที่ว่าทำไมเราต้องมาศึกษาเรื่องตำนานเทพอะไรด้วย หลงเทพ, บ้าเทพ มากไปหรือเปล่า? ผมไม่ขอตัดสินนะครับ คุณก็ลองพิจารณากันเองจากข้อมูลรอบด้านดูเอาครับ อย่างผมก็ทราบมาว่าจะมีสัตว์สี่เหล่าใหญ่ มาดูแลพระพุทธศาสนาต่อไป เมื่อถึงกึ่งกลางพุทธกาล ผมไม่ได้ทราบเพียงแค่การอ่านตำราเท่านั้น แต่ผมได้พิสูจน์มาด้วยประสบการณ์ตรงแล้ว จึงเชื่อว่ามีแบบนั้นจริงๆ และก็ทำให้ทราบว่าพระพุทธศาสนาไม่ใช่ระบบปัจเจกฯ ที่พระพุทธเจ้าเก่งอยู่คนเดียว ทำทุกอย่างได้หมดคนเดียวก็หาไม่ครับ แต่เป็นแบบสัตว์สังคม มีสังคม มีหมู่คณะ มีทีมงานทำงานเป็นทีม และไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในมิติเดียว หรือภพเดียว เพราะสัจธรรมความจริงนั้น เราไม่อาจที่จะแยกกันได้ มันเชื่อมโยงกันทั้งหมด ทุกภพ ทุกมิติ อย่างแยกไม่ออกครับ ดังนั้น เป็นเรื่องธรรมดามาก ที่ในไตรปิฎกจะกล่าวถึง ครั้งในยามที่พระพุทธองค์บำเพ็ญทุกขกริยาทรมานตนอยู่ แล้วมี "เทวดามาช่วยดีดพินเตือนสติ" ไม่ใช่ลุยเดี่ยวคนเดียวถึงความเป็นพระพุทธเ้้จ้าเลย หรอกนะครับ ดังนั้น การกล่าวถึงหรือศึกษาเรื่องของเทพเทวดา ผมมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่ว่าหลง ติดนิมิต หรือปฏิเสธไปว่าเขาไม่มีอยู่จริงอะไร จะจริงหรือไม่จริง ก็ช่างเถอะครับ เราก็ทำหน้าที่ของเราไป ถ้ามันทำให้เราทำหน้าที่ตรงทางได้ ก็ดีครับ แ่ค่นั้นเอง ดังนั้น ผมจึงสนใจศึกษาเรื่องเทพเทวดาที่จะมาค้ำจุนพระพุทธศาสนาครับ


อย่างที่สอง เพื่อการทำกิจ "สืบอายุพระพุทธศาสนา" ผมจึงทุ่มศึกษาเรื่องสัตว์ทั้งสี่เหล่าใหญ่ที่จะมาดูแลพระพุทธศาสนานี้ต่อได้แก่ ยักษ์, เทพ, มาร, พรหม ถ้าเราต้องการทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาจริงๆ ผมว่าไม่ต้องไปคิดเอง สร้างเอง สร้างวัดแข่งกัน อวดบารมีกัน ให้คนมาหลงศรัทธาให้ได้มากกว่ากัน ก็ดูดเงินจากศรัทธาของคนได้มากกว่ากัน ฯลฯ ขบวนการแบบนี้ ผมว่าไม่จำเป็นครับ เริ่มต้น ผิดแต่แรก ผมก็มาเริ่มต้นตรงนี้ "ทีมงานที่จะมาดูแลพระพุทธศาสนาทั้งสี่เหล่า" นั้น มีใครบ้าง อย่างไรบ้าง แล้วเืรื่องราวมันก็สอดคล้องกันอีกทั้งเรื่องมีการเปลี่ยนชุดทีมผู้ดูแลศาสนา และเรื่องการปรับเปลี่ยนพลังงานเก่าเป็นพลังงานใหม่ มันก็เลยทำให้ผมศึกษามากขึ้น แค่นั้นเองครับ ซึ่งผมก็เชื่อว่าไม่มีอะไรที่เกิดแบบไม่มีสาเหตุ หรือมาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย สรุปได้ง่ายๆ ก็คือ ทุกอย่างถูกเตรียมไว้แล้ว และทำไว้นานอย่างต่อเนื่อง เช่น ถามว่าทำไม เราคนไทยต้องมาดูหนังฝรั่งอย่างเรื่อง ธอร์, แบทแมน, โดเรม่อน ฯลฯ ด้วยละ ผมว่าสิ่งเหล่านี้มีเหตุผลในตัวเอง และไม่ใช่ความบังเอิญหรอกครับ แต่มันถูกวางแผนมาแล้วทั้งหมด ให้มันได้มีขึ้น ปรา่กฏขึ้น ในรูปแบบที่เหมาะสมกับยุคสมัย ที่คนทั้งหลายก็ไม่ค่อยจะมีตาทิพย์ ไ่ม่อาจมองเห็นหรือสื่อสารกับเทพเทวดาได้ มันก็ต้องมารูปแบบนี้ ก็เท่านั้นเอง เพียงแ่่ต่ว่ามันไม่ใช่จะมาแบบบริสุทธิ์ ก็ต้องมีการปรุงแต่งไปหลายเหตุหลายปัจจัย เช่น ปรุงแต่งไปเพื่อให้คนที่ทำหนัง ขายหนังได้มากๆ ได้เงินเยอะๆ มันก็เลยมีทั้งส่วนที่ถูกแต่งแต้มมากเกินไปบ้าง อย่างนี้ เราก็คัดกรอง, แยกแยะ เลือกเอาเองตามวิจารณญาณของใครของมันแล้วกันครับ นั่นคือ ถ้ามันไม่มีเหตุผล มันคงไม่ถูกจัดสรรให้มาเข้าหูเข้าตาเราหรอกครับ เราที่เ็ป็นชาวพุทธจะต้องมานั่งดูเทพเ้จ้าในความเชื่ออื่นๆ ที่อยู่บนโลกนี้ทำไม? ถ้ามันไม่เกี่ยวข้องกัีนจริงๆ มันก็คงไม่ถูกธรรมชาติจัดสรรมาให้หรอกใช่มั้ย?


อยากที่สาม คือ เรื่องการคัดกรองแยกแยะ เอาข้อมูลส่วนสำคัญออกมาจากสารที่เราได้รับในรูปแบบต่่างๆ (ซึ่งสิ่งศักดิสิทธิ์สื่อสารกับเราได้ไร้จำกัด ทุกรูปแบบครับ เช่น ภาพยนต์, การ์ตูน, Gossip ก็ได้ครับ) ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เป็นหัวใจของการศึกษาตำนานต่างๆ ครับ อย่างที่ผมเคยบอกไว้ว่าตำนานต่างๆ มันมีด้วยกัน ๔ ยุคสมัยคือ ยุคที่หนึ่ง "ยุคไร้บันทึก" ที่จะมีแต่เนื้อหาสำคัญๆ ไม่่่่ค่อยถูกเสริมแต่ง ด้วยไม่มีการบันทึกต้องจำกันมารุ่นต่อรุ่น ยุคที่สอง "ยุคสมมุติเทพ" คือยุคที่กษัตริย์มาช่วยบันทึกให้กันลืม กลัวสูญหาย แต่ก็เสริมแต่งเรื่องราวของตัวเองไปด้วยว่าเป็นสมมุติเทพ (เริ่มมีเรื่องแต่ง เสริมเข้ามาแล้ว) ยุคที่สาม "ยุคปราชญ์" เริ่มมีตัวอักษรใช้แพร่หลายมากขึ้น ทำให้ไม่ต้องใช้ทุนมาก ก็สามารถเผยแพร่แนวคิดต่างๆ ของตนเองได้ ดังนั้น จึงมีการแต่งเสริมเติมต่อมากขึ้น เช่น เสริมความเชื่อ, แนวคิด, ปรัชญาของตนเองเข้าไป หรือแม้แต่ "สรรเสริญเยินยอ" เทพเจ้าของตน จนเกินจริง ก็มี ดังนั้น ไม่แปลกถ้าจะเ็ห็นวรรณกรรมยุคนี้ มีการเกทับกันไปมาของเทพเจ้าต่างองค์ ใครนับถือองค์ไหนก็จะยกยอและสร้างให้เทพเจ้าของตัวเองยิ่งใหญ่ที่สุด จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง ก็ไม่รู้ เพราะไม่อาจจะพิสูจน์ได้ครับ เช่น โพรมีธีอุสอาจคิดและมองการณ์ไกล ถูกจริง เรื่องจะเอาไฟมาให้มนุษย์ แต่ผิดที่ "เวลา" ครับ เขาควรรอให้มนุษย์พร้อมก่อน ทว่า ไม่มีใครพูดหรือมองมุมนี้ คนที่นับถือเทพโพรมีธีอุสก็จะมองว่าเขาดีเลิศ ทำถูกทุกอย่าง ไม่มีผิด ที่ผิดคือ "เทพซูส" ที่มีถึงขนาดเขียนว่าเทพซูสทรมานเขาเพื่อจะได้ทราบเรื่องคำทำนายครับ นี่ก็ไม่่ต่างอะไรกับวรรณกรรมที่เขียนยกย่องให้พระนารายณ์ยิ่งใหญ่จนเกินจริง เหนือมหาเทพองค์อื่นๆ ทั้งๆ ที่จริงแล้ว จักรวาลมีสมดุลมีการถ่วงดุลยภาพอย่างพอดีครับ แต่ใครศรัทธาก็เขียนให้มันเว่อร์ไป ก็เท่านั้นเอง ดังนั้น หากเราได้ตำนานอะไรมา มันอาจจะมีข้อเท็จจริงอยู่บ้างข้างใน ก็ตาม เราก็ต้องไม่ลืมไปว่ามันมีการเสริมแต่งมากมายผ่านมาในแต่ละยุคสมัยครับ ซึ่งส่วนที่เสริมแต่งเหล่านี้ ถ้าเราจับได้ ก็เอาออกไปเท่านั้นเอง ก็จะทำให้ได้ข้อมูลที่บริสุทธิ์ ใกล้ความจริงยิ่งขึ้น ต่อไปก็คือ ยุคที่สี่ "ยุคจินตนาการเสรี" ซึ่งเป็นยุคที่ผ่านการปฏิวัติทั้งการผลิตกระดาษให้แพร่หลายราคาถูก การเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตยทำให้ประชาชนคนธรรมดามีอำนาจ มีเสรีในการคิดหรือเีขียนมากขึ้น ยุคนี้ จึงมีงานเขียนที่ออกมาจาก "จินตนาการจริงๆ" มากขึ้น ซึ่งจินตนาการนี้ก็สะท้อนออกมาจากสิ่งแวดล้อมที่นักเขียนมีชีวิตอยู่ นั่นแหละครับ เช่น นิยายน้ำเน่าของไทยยุคแรกๆ ก็มีแต่เื่รื่องผัวๆ เมียๆ แย่งผัว แย่งเมียกัน มีเรื่องเมียน้อย เมียมาก อะไรแบบนั้น และยุคที่ห้า "ยุคสงครามเย็น" อันนี้ ผมขอเสริมให้เป็นยุคที่ห้า ที่สื่อต่างๆ ไม่ได้จะมีอิสระเสรีได้ดังก่อน แต่กลับกลายเป็นเครื่องมือในการทำสงครามเย็น ใช้สื่อครอบงำและแผ่อิทธิพลทางความคิดแข่งขันกัน เอาละ ถ้าุคุณจะใช้ข้อมูลอะไรในยุคนี้ ก็ใช้วิจารณญาณมากๆ นะครับ


เอาละ สามเหตุผลสำคัญเบื้องต้นนี้ ฝากไว้ให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้ลองนำไปทดลองใช้ดู บางที ท่านอาจจะค้นพบหรือได้ข้อคิดอะไรดีๆ จากตำนานโบราณหรือนิยายปรัมปรา ที่คนสมัยนี้อาจจะมองอย่างดูถูกว่าล้าหลัง คร่ำครึ ไม่ทันสมัย และเ็ป็นเรื่องงมงาย เอาละ มันจะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ ผมไม่อยากสรุป แต่เท่าที่ทราบก็คือ ในโลกนี้ก็ยังมีคนที่ฉลาด หยิบเอานิยายปรัมปราและตำนานต่างๆ มาทำเป็นหนัง ทำเงินรวยไปมากมายแล้ว และ "ไอ้คนที่ไปด่าเขาว่างมงาย" นี่หละ มันก็ไปจ่ายตังค์ซื้อตั๋วหนัง นั่งดูของเขาเหมือนกัน เออ ดูสิ มันฉลาดขนาดไหน? แต่ผมว่าผู้อ่านบทความของผม ไม่น่าเป็นคนแบบนั้น (ปากว่าตาขยิบ พูดอย่างทำอย่าง) อย่างไรเสีย ถ้าท่านค้นพบอะไรในตำนานหรือนิยายปรัมปราเหล่านั้น ก็เอามาเม้าท์แลกเปลี่ยนกันก็ได้ึครับ ผมพร้อมรับฟังเสมอ สำหรับบทความนี้ สวัสดีครับ



5 ความคิดเห็น:

  1. นีๆ ผลไม้ที่เราคาดว่าจะเป็นผลปีศาจ จะเป็นผลไม้แบบไหนอะ ยังงี้ก็ต้องหาทั่วโลกเลยสิครับ

    ตอบลบ
  2. ทำไมคิดว่าเราต้องไปหามันด้วยละ? มันมาหาเราเอง ไม่ได้หรือ?
    ถ้าเรามีคุณค่ามากพอ ยิ่งสว่างมาก ภาคมืดก็ยิ่งเอาสิ่งที่มืดมากๆ
    มาสู่เรา ถึงตอนนั้นก็แล้วแต่เราจะพิจารณาเลือกรับ สัดส่วนเท่าใด
    บ้างก็รับมืดเต็มๆ บ้างรับครึ่งผ่อนครึ่ง บ้างไม่รับเลย ก็แล้วแต่คน


    สำคัญคือ "ตัวเราน่าสนใจแค่ไหนครับ" ...

    ตอบลบ
  3. นี่ๆ เวลาจะกิน กินทั้งผลเลย หรือกินแค่ครึ่งผลอ่าครับ

    ตอบลบ
  4. ผมก็ไม่ทราบนะครับ อาจต้องลองดูจากข้อมูลในการ์ตูนแล้วคงต้องทดลองเองนะครับ

    ตอบลบ
  5. นี่ๆ มีวิธีทำผลไม้ธรรมดาให้กลายเป็นผลปีศาจนอกจากการไหว้ปะครับ แบบว่า อัญเชิญเทพไฟสถิตนะผลไม้ อะไรประมาณนี้อะ อิอิ เห็นข้อความนี้เลยคิดออก http://www.thaionepiece.com/board/viewtopic.php?f=6&t=5768&start=10#p106781

    ตอบลบ

เม้าท์ด้วยคน