วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พระเจ้าผู้สร้างโลก ไม่ได้มีเพียงองค์เดียว?

ในบางโลกธาตุ จะมี "พระเจ้า" ผู้สร้างโลกธาตุนั้นๆ ปกติ มักจะอยู่ในโลกธาตุนั้นๆ ด้วยเช่น สุขาวดีโลกธาตุตามตำราของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ก็ได้กล่าวถึง "พระอามิตาภะ" ที่เป็นผู้สร้างสุขาวดีโลกธาตุและได้ดำรงอยู่ในสุขาวดีเช่นนั้นไม่มีที่สิ้นสุด โดยส่วนใหญ่แล้วโลกธาตุอื่นๆ มักเป็นเช่นนั้น ยกเว้น "โลกธาตุของเรา" หรือที่มีชื่อเรียกในพระไตรปิฎกอย่างเป็นทางการว่า "ตรีสหัสโลกธาตุ" เนื่องเพราะมีถึงสามภพประกอบกัน แตกต่างจากโลกธาตุอื่นๆ ที่ปกติมักจะมีภพเดียว คือ ภพสวรรค์ นอกจากนั้น โลกธาตุของเรายังถูกสร้างด้วยหลายท่านมากมาย หลายไม้ หลายมือ หลายยุค หลายสมัยจนกลายเป็นตำนานและศาสนาที่แตกต่างกันมากมาย เพราะด้วยศรัทธาในพระเจ้าผู้สร้างโลกต่างองค์กันนั่นเอง และด้วยเหตุนี้ โลกจึงต้องมี "ยุคสมัย" อันเป็นผลมาจาก "พระเจ้าผู้สร้างโลก" ต่างองค์ผลัดเปลี่ยนเวรกันมาดูแลในแต่ละปีนั่นเอง และส่งผลให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "วัฏจักร" ซึ่งโดยปกติจะมี ๑๒ ปีต่อหนึ่งรอบวัฏจักร นอกจากนี้ ในช่วงเวลาหนึ่งปี ก็ยังมีเทพที่ดูแลย่อยๆ ลงไปอีก ทำให้โลกมี ๓ ถึง ๔ ฤดู (แตกต่างกันไปตามแต่ ละท้องถิ่นด้วย) ในแต่ละฤดูก็ยังมีความแตกต่างกันเป็นรายเดืิอนและรายวันด้วย เอาละ ก่อนที่จะซับซ้อนจนเกินไปกว่านี้ ผมขอเม้าท์เพียงแค่ "วัฏจักรรายปี" ก่อนก็แล้วกัน สรุปตุ๊บตั๊บตรงนี้ก่อนง่ายๆ นะครับว่าโลกถูกสร้างด้วยพระเจ้าหลายองค์, หลายไม้, หลายมือ, หลายยุค 


คราวนี้ก็มาถึง "การเล่าเรื่องราว" กันบ้าง ซึ่งเมื่อความจริงเป็นดังเช่นที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ขั้นต่อไปคือ การเล่าเรื่องราวและถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นต่อๆ ไป ซึ่งอย่างหนึ่งที่ผมอยากจะบอกแก่ท่านก่อนเลยก็คือ "ยุคสมัยของงานศิลปะ" เช่น ในโลกของเรานี้ มีบางช่วงจะเป็นยุคของงานภาพวาดเหมือนจริง แล้วหลังจากนั้นจึงเป็นยุคของงานศิลปะแนวอื่นๆ เกิดขึ้นมา เช่นเดียวกันกับ "งานเขียนและวรรณกรรม" ก็มียุคสมัยเหมือนกัน กล่าวคือ งานเขียนหรือวรรณกรรมต่างๆ จะนับได้ตั้งแต่ยุค "ไร้ตัวอักษร" แ่ต่ใช้การบอกเล่าต่อๆ กันมาแทน ดังนั้น ในยุคนั้น สิ่งที่ถูกถ่ายทอดปากต่อปากมาถึงวันนี้ได้ "ย่อมต้องเลือกแล้วว่าสำคัญที่สุดจริงๆ" เพราะมันไม่อาจจะจดจำอะไรได้มาก เพื่อเล่า่ต่อให้ลูกหลานได้หมด จริงไหมครับ ดังนั้น ผู้สืบทอดทั้งหลายก็ต้องเลือกแต่ที่จำเป็น, สำคัญ, น่าติดตาม หรือน่าสนใจจริงๆ เท่านั้น และคงเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกจากเรื่องของ "พระเจ้าและเทพเจ้า" นี่ผมนับเป็น "ยุคเริ่มต้น" ก็แล้วกัน ยุคต่อมา เริ่มมีการบันทึกแต่ในแบบของ "รูปภาพ" ยังไม่มีตัวอักษรอยู่ดี ดังนั้น เราจะเห็น "หลักฐานต่างๆ ปรากฏอยู่ได้" เช่น ภาพแกะสลัก, รูปแกะสลักต่างๆ ฯลฯ เพื่อบันทึกเรื่องราวที่สำคัญและจำเป็นเพื่อถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นหลัง และยุคนี้เองก็ได้มีเรื่องราวของ "ผู้มีอำนาจที่สั่งให้บันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านั้น" ซึ่งก็คือ "วรรณกษัตริย์" นั่นเอง ดังนั้น เรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดสืบๆ กันมาในยุคนี้จึงเป็นเรื่อง "กษัตริย์และเทพเจ้า" ซึ่งจะออกมาในแนวๆ ที่สรรเสริญกษัตริย์องค์นั้นๆ ว่าเป็น "สมมุติเทพ" นั่นเอง ซึ่งก็อาศัยสิ่งที่มีอยู่หรือสืบทอดมาแต่ก่อน แต่เสริมความเชื่อเรื่องสมมุิติเทพเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง นี่ผมเรียกว่าเป็นวรรณกรรม "ยุคสมมุติเทพ" ต่อมา ก็ถึงยุคที่เริ่มมี "ตัวอักษร" ใช้่แล้ว ไม่จำเป็นต้องให้ผู้มีอำนาจหรือกษัตริย์แต่ฝ่ายเดียวสั่งให้แกะสลักหรือบันทึกเรื่องราวเป็นรูปภาพเท่านั้น แต่ยังมี "วรรณพราหมณ์, พวกนักบวช, นักปราชญ์ หรือกลุ่มชนชั้นที่รู้อักษร" ก็สามารถใช้อักษรเหล่านั้นในการถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ได้เช่นกัน ไม่ต้องลงทุนลงแรงถึงขนาดจ้างช่างแกะรูปสลัก อะไรขนาดนั้น อีกก็ได้ วรรณกรรมที่ถูกถ่ายทอดผ่านตัวอักษรในยุคนี้ จึงไม่จำเป็นต้องสรรเสริญกษัตริย์อย่างเดียวอีกต่อไป ดังนั้น เราจึงได้เรื่องราวที่มากขึ้นในยุคนี้ (เพราะการจดจำบันทึกด้วยตัวอักษรทำให้ง่ายขึ้น) ดังนั้น ยุคนี้จึงเป็น "ยุคเฟื่องฟูของปรัชญา" ที่ทำให้เกิด "นักปราชญ์" ขึ้นมามากมาย ผมขอเรียกยุคนี้ว่า "ยุคปราชญ์" ก็แล้วกัน 


ต่อมา ก็เริ่มมีเรื่องการใช้กระดาษซึ่งง่ายต่อการบันทึกตัวอักษรต่างๆ มากขึ้นไปอีก ดังนั้น จึงทำให้นักปราชญ์และกวีมากมายสามารถใช้่สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ในการถ่ายทอดเรื่องราว, ความคิดของตนได้มากยิ่งขึ้น จนเกิดการ "ปฏิืวัติวรรณกรรม" ขึ้น กล่าวคือ ตั้งแต่ "สองยุค" ที่ผ่านมานั้น ยังไม่เข้าสู่ยุคที่กวีจินตนาการได้อย่างเสรีอย่างแท้จริง เพราะปัจจัยต่างๆ ก็ไม่เอื้ออำนวยทำให้จะต้องยึดถือแต่ "ความถูกต้องตามความเชื่อเก่า" จะไม่มีใครกล้าิจินตนาการอะไร ที่ไม่จริง หรือไม่ใช่ความเชื่อตามหลักศาสนาได้ เพราะต้องคัดเลือกจดจำหรือถ่ายทอดแต่สิ่งที่สำคัญจริงๆ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป มีกระดาษจดบันทึกได้อย่างง่ายดาย ก็เลยทำให้เกิด "ยุคจินตนาการเสรี" ขึ้น เช่น คุณสามารถจินตนาการเขียนอะไรที่อาจจะไม่มีอยู่จริงเลย ก็ได้ ขึ้นมา ถ้าเรื่องราวของคุณได้รับความนิยม มันก็จะได้รับการถ่ายทอดต่อๆ ไปเอง ซึ่งสิ่งนี้ "เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้" หลังการปฏิวัติระบบการบันทึกของมนุษย์ ดังนั้น ถ้าคุณย้อนไปสู่เรื่องราวที่เก่าแก่และถูกถ่ายทอดมาในสองยุคก่อนหน้านี้ "จะไม่มีงานใดที่ออกมาจากจินตนาการเสรีหรือลอยๆ เลย" การที่กวีจินตนาการอะไรออกมาได้เองนั้น เพิ่งเริ่มเมื่อย้อนกลับไปสองยุค ก็เท่านั้นเอง (ยุคปราชญ์ นักปราชญ์ใส่ความคิดของตนเพิ่มเข้าไปหรือแต่งขึ้นใหม่ได้ เช่น นิทานอีสป และยุคจินตนาการเสรี) หรือถ้าจะให้กล่าวชัดๆ ขึ้นอีกก็คือ "เรื่องราวที่เก่ามากๆ" ไม่ได้มาจากจินตนาการแต่มันมาจาก "ความเชื่อหรือความจริง" ที่สำคัญยิ่งยวดจนทำให้้ต้องสืบทอดกันต่อมารุ่นสืบรุ่น ดังนั้น เรื่องราวของเทพเจ้าและพระเจ้าในหลักฐานต่างๆ ที่เก่าแก่มากๆ จึงไม่ใช่เรื่องราวที่มาจากจินตนาการเสรีได้เลยครับ และอีกประการหนึ่ง คนสมัยโบราณก็ยังจินตนาการอะไรเสรีมากๆ ไม่เป็นหรอกครับ ถามว่าเพราะอะไร? เพราะระบอบการปกครองที่หล่อหลอมพวกเขามานั้น ไม่มีระบอบที่เปิดกว้างเสรีให้คิดอะไรก็ได้ตามจินตนาการแบบยุคนี้น่ะสิครับ เราเพิ่งมีระบอบประชาธิปไตยที่เปิดกว้างอย่างเสรีให้คนคิดได้ตามใจ ตามจินตนาการเมื่อไม่นานมานี้เอง (ตามอายุของโลกนะครับ)    


เอาละ สุดท้ายคงต้องสรุปตุ๊บตั๊บว่า เรื่องราวเก่าแก่มากๆ บนโลก ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระเจ้าและเทพเจ้านั้น "ไม่มีความเป็นไปได้เลยว่าจะมาจากจินตนาการเสรี" ครับ ด้วยไม่มีเหตุปัจจัยอะไรเอื้อและเกื้อหนุนให้มีได้ เกิดได้ ดังที่กล่าวมาข้างต้น ส่วนเรื่องราวที่ไม่เก่าขนาดนั้น เกิดภายหลัง ถูกเขียนหรือสร้างขึ้นมาภายหลัง จึงเริ่มมีการจินตนาการได้อย่างเสรีครับ ดังนั้น เรื่องราวของพระเจ้าและเทพเจ้าที่เก่าแก่เหล่านี้ จึงมาจาก "ความเื่ชื่อว่ามันเป็นความจริง" ทั้งสิ้นนะครับ แต่มันจะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่? อันนี้ ก็ต้องรอให้ "คนรุ่นหลังอย่างเรา" ค้นคว้า, พิสูจน์กันดูเอง ก็แล้วกันละครับ สำหรับวันนี้ เรื่องราวของพระเจ้าและเทพเจ้าทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโลก ขอยุติเท่านี้ สวัสดีครับ 



2 ความคิดเห็น:

  1. ต้นหลิว:เท่าที่สัมผัสได้ตอนนี้ สงสัยแค่ว่าผลไม้ปีศาจ บางส่วนเกิดจาก "สัตว์" ที่มีกรรม ไปเกิดเป็นผลไม้ปีศาจ มันมีชีวิต มีจิตวิญญาณของมันเอง เหมือนมักกะลีผล นี่หละ บางส่วนถูกคำสาป สาปให้เป็นเช่นนั้น บางส่วนโดนทัณฑ์สวรรค์ ไปเกิดเป็นเช่นนั้น เมื่อใครกินเข้าไป ก็จะมีสภาพเหมือน "จิตวิญญาณซ้อนกัน" ผลไม้นี้มันมีชีวิตและจะซ้อนอยู่ร่วมกับผู้ที่กินมัน มันก็อาศัยได้มีสังขาร ได้ทำอะไรได้บ้าง พอหมดวาระ ร่างนั้นตาย มันก็ต้องกลับไปสภาพเดิม รอให้ผู้อื่นมากินมันต่อ จนกว่าจะหมดกรรมหรือพ้นคำสาป อะไรแบบนั้น แต่ว่าเขาบอกว่าไม่มีการบันทึุกเรื่องว่าเกิดจากอะไร เขาว่า "โกหกหมดนะครับ"

    ผม:ขอถาม 2 คำถามครับ
    1.ที่ว่าโกหกหมดคืออะไรหรอครับ
    2.ไม่รู้ที่มาแบบนี้จะรู้ได้ยังไงละครับว่าผลไม้ไหนเป็นผลไม้ปีศาจ มีลักณะวดลายยังไงละครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. อ่านตำราจากการเสริชมา เขาว่าอย่างนั้น ก็ว่าต่อให้ฟังอย่างนั้น
      ก็นั่นสินะ ไม่รู้ที่มา แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าผลไม้ไหนเป็นผลไม้ปีศาจ

      ลบ

เม้าท์ด้วยคน