วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การฝึกพลังทาง "จิตวิญญาณ" (มโนมยิทธิ) กับทาง "ร่างกาย" (อิทธิวิธี) ต่างกันอย่างไร?

สวัสดีตอนเช้าๆ นะครับ วันนี้ ผมมีเรื่องที่ใครหลายคน อาจอยากทราบมานานแล้ว คือ เรื่องการฝึกพลังจิตต่างๆ อภิญญาต่างๆ ครับ อย่างแรกที่เราควรเข้าใจคือ "อภิญญา" เป็นคำกว้างๆ หมายถึงความรู้อันยิ่ง อันนำไปสู่ผลอะไรได้มากมาย เช่น ผลเป็นฤทธิ์ทางใจ, ผลเป็นฤทธิ์ทางกาย เป็นต้น ในทางพุทธศาสนาได้แบ่งออกเป็น ๖ ประเภท เรียกว่า "อภิญญาหก" นั่นเอง ในที่นี้ ผมจะนำมาเล่าให้ฟังกันเล่นๆ เป็นกันเอง ๒ อย่างก็พอครับ คือ เรื่อง "ฤทธิ์" โดยเฉพาะ ได้แก่ ๑. ฤทธิ์ทางใจ (มโนมยิทธิ) และ ๒. ฤทธิ์ทางกาย (อิทธิวิธี) ก็แยกแยะง่ายมากครับ ฤทธิ์ทางใจนั้น จะแสดงฤทธิ์ออกมาให้เห็นทางกายไม่ได้ แต่ใจเขามีฤทธิ์ มีพลังจิต นั่นเอง หรือถ้าท่านไหนมีตาทิพย์ มองเห็นในมิติทิพย์ได้ ก็จะเห็น "จิตวิญญาณที่มีฤทธิ์" ของเขานะครับ คนบางคนไปยึดว่า "มโนมยิทธิ" คือ การถอดจิต นั่นมองแคบไปครับ บางคนก็คิดเอาว่ามโนมยิทธิ ฝึกสำเร็จแล้วจะต้องมองเห็นนรก หรือไปสวรรค์ได้ ซึ่งไม่จำเป็นครับ การมองเห็นได้ เป็นเรื่องของการมีตาทิพย์ เท่านั้น คนละเรื่องกันครับ แต่มันเอามาประกอบกันได้ ทีนี้ คนที่ไม่มีตาทิพย์จะมองเห็น และถอดกายทิพย์ไม่ได้ สามารถมีฤทธิ์ทางใจที่เรียกว่า "มโนมยิทธิ" นี้ได้ไหม? คำตอบคือ "ได้สิครับ" เหมือนคนมีพลังจิต นั่นแหละ ฤทธิ์ทางใจ เช่น เมื่อใจเราอยากให้เขาซื้อ เราก็ทำให้เขาซื้อสินค้าเราได้ (ถ้าเขามีพลังจิตอ่อนกว่าเรานะครับ) นี่ก็คือฤทธิ์ทางใจ ไงครับ หรือที่เราเรียกว่าพลังจิต ที่ไม่อาจแสดงออกทางร่างกายได้เท่านั้นเองครับ ส่วนอิทธิวิธีนี้เป็นฤทธิ์ทางกายที่แสดงออกมาทางร่างกายได้ เช่น ขี่จักรยาน จนเก่งมากๆ แสดงให้คนเห็นได้ว่าเรามีฤทธิ์ในการขี่จักรยาน ผาดโผน, โฉบเฉี่ยว, พลิกแพลง, รวดเร็ว, ทำสิ่งที่คนปกติทำได้ยาก ฯลฯ เป็นต้น นั่นก็คือ ฤทธิ์ทางกาย ระดับเริ่มต้นครับ ซึ่งนักกีฬาทั้งหลาย ก็มีฤทธิ์ืทางกายระดับต้นนี้กันทั้งสิ้น


ทีนี้ เรามาพูดถึง "การฝึกให้ได้ฤทธิ์สองแบบนี้" กันบ้างนะครับ ไม่ยากครับ ฤทธิ์ทางใจ ก็ฝึกทางใจ ไม่ต้องใช้กายไปทำ เช่น นั่งหลับตาอยู่เฉยๆ แล้วใช้ใจสั่งเลยครับ คนที่มีตาทิพย์ ก็อาจเห็น "กายทิพย์ของตนเองไปทำกิจต่างๆ" โดยที่ร่่างกายเนื้อ ไม่ได้ทำอะไร ยังนั่งหลับตาอยู่อย่างนั้นเองครับ ทีนี้ กายทิพย์ที่ถูกฤทธิ์ทางใจ สั่งให้ทำสิ่งต่างๆ ก็มีฤทธิ์เฉพาะตัวต่างกันไปอีก เช่น แบ่งกายทิพย์ได้หลายๆ กาย ก็มี, แปลงกายให้เป็นอย่างอื่นได้ ก็มี แต่อย่าไปยึดว่ามโนมยิทธิ จะต้องมีกายแบ่งกายให้เป็นหลายๆ กายเสมอไป แล้วแต่ฤทธิ์ครับ ว่าจะเป็นฤทธิ์อะไร เยอะแยะไปครับ ส่วนการฝึกฤทธิ์ทางกาย (อิทธิวิธี) นั้นก็ฝึกโดยการใช้กายเยอะๆ ไงครับ เช่น การทำนาทุกวัน, ขี่จักรยานทุกวัน, วิ่งออกกำลังกายทุกวัน, กวาดลานวัดทุกวัน ฯลฯ ถ้าเขารู้เคล็ดลับในการฝึกฤทธิ์ ก็ฝึกฤทธิ์ขณะทำกิจกรรมต่างๆ ซ้ำๆ อยู่ทุกวันๆ นั่นแหละครับ ในที่สุด เมื่อบังเกิดผลออกมา มันก็กลายเ็ป็นฤทธิ์ทางกายได้เองแหละครับ การฝึุกแบบนี้ ขอเพียงมีเคล็ดลับเท่านั้น ก็สามารถใช้การทำกิจวัตรประจำวันปกติเป็นการ "ฝึกโดยไม่ต้องฝึก" สำเร็จได้รวดเร็วกว่าการ "กำหนดหรือเจตนาเพื่อให้ได้ผล" มากมายครับ สำหรับบทความเช้านี้ อ่านกันเล่นๆ นะครับ ไม่ต้องคิดมาก สวัสดีครับ  

17 ความคิดเห็น:

  1. มีเรื่องเม้าท์ ข่าวด่วนมาเล่าให้ฟังครับ เมื่อก่อนผมจะโพสกระทู้นี้ ผมก็ไปขี่จักรยานครับ ก็คิดว่าการปั่นจักรยานก็ืคือการหมุนพลังจักร แล้วก็ขี่วนทางขวาไปเรื่อยๆ แถวๆ วัดครับ บวกกับเราก็ฝึกพลังไฟเย็นหรือไฟฟ้า (วัชระ สายฟ้าฟาด) คือ ทำใจเย็นๆ แต่มีไฟสว่าง ใสๆ ซื่อๆ ไปครับ ปรากฏว่า ไม่นานเท่าไร จู่ๆ หม้อไฟที่วัดก็ระเบิดดังตู้ม! ... ตอนแรกนึกว่าใครจุดประทัด พอมองไปเห็นควันโขมงที่หม้อแปลงไฟฟ้าของวัดเลยครับ


    คงไม่เกี่ยวอะไรกันหรอกเนอะ แต่เป็นเรื่องสนุกๆ เอามาเล่นคลายเครียดเท่านั้นเองนะครับ

    ตอบลบ
  2. มีเรื่องเล่าอีกครับ เมื่อกี้ ผมลืมถอดปลั๊กสายชาร์ตโน้ตบุ๊ค พอถอดแล้วมันก็ยังมีแสงสว่างสีเหลืองที่ตัวหม้อแปลงไฟฟ้า (คงมีเพราะมีประจุไฟฟ้าเหลืออยู่ในนั้นมังครับ) มันสว่างอยู่อย่างนั้น ผมก็เลยลองเอามือจับที่ขาเสียบปลั๊ก (เหล็กที่มีสองอันนะครับ) แล้วปรากฏว่าไฟฟ้าที่สว่าง มันก็ค่อยๆ มืดลงทีละน้อยๆ แล้วก็ดับไปครับ


    ยังมีอีกนะครับ เวลากลางคืน เคยลองจับหลอดไฟนีออนดูไหมครับ ผมชอบจับเล่นประจำ พอเราดับไฟแล้วมันก็มืดจริงไหมครับ แต่พอผมเอามือไปจับมันเล่น มันก็สว่างขึ้นมา แต่ไม่มากนะครับ แต่ผมสงสัย ทำไม บางวันมันก็ทำได้ สว่างนะ แต่บางวันก็ทำไม่ได้ ไม่เห็นจะสว่างเลย ผมคิดว่าถ้าคนอื่นลองเล่นบ้าง ก็คงเป็นเหมือนกันแหละครับ ???

    ตอบลบ
  3. ถ้าไปทำงานที่เกี่ยวกับน้ำ ก็คือพระบุตรที่เกี่ยวกับราศีกุมภ์งั้นเหรอ แต่ถ้าไปทำงานอย่างอื่น ก็คือโพรมีธีอุสงั้นเหรอ

    ตอบลบ
  4. ไม่จำเป็นเสมอไป อาจไม่ได้อะไรเลยก็ได้ พลังงานมีมากมาย ใช่ว่าจะประสานพลังกับพลังงานที่กล่าวมาได้นี่ครับ พลังงานเชิงซ้อนเยอะแยะที่รอครอบงำแทรกแซงเราอยู่ มันไม่ใช่จะได้อะไรดังใจง่ายๆ หรอกครับ

    ตอบลบ
  5. ง่า พระบุตร 2 องค์นั่น เค้าคงมีและเตรียมพร้อมไว้แล้วแหละ แฮ่่ แห้วว :(

    ตอบลบ
  6. ไปเป็นพนักงานบริษัทใกล้ๆบ้าน ก็ได้แระส์ อิอิ (ชำระล้างพลังงานเก่าไปในตัว ฮ่าๆๆๆ)

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ27 ตุลาคม 2555 เวลา 13:46

    พลังลมปราณกำลังภายในจัดเป็นฤทธิ์ประเภทไหน

    ตอบลบ
  8. การฝึกกำลังภายใน สายเต๋า สามารถฝึกได้ทั้งฤทธิ์ทางใจและฤทธิ์ทางกาย แล้วแต่ว่าจะฝึกยังไง ในสมับโบราณก่อนยุคที่จะมีการเข่นฆ่ากัน สายเต๋าล้วนฝึกกำลังภายในแบบ ๑. ฤทธิ์ทางใจ คือ ถอดจิตขึ้นสวรรค์ ไม่ต่างจากมโนมยิทธิ เหมือนกัน เช่น เซียนองค์หนึ่ง ก็ถอดจิตขึ้นสวรรค์หลังสำเร็จเซียน แล้วร่างถูกเผา จนต้องกลับเข้าร่างขอทานขาพิการแทน ๒. ฤทธิ์ทางกาย เซียนเต๋าไม่ฝึกงี่เง่า อะไรคือฝึกงี่เง่า? ฝึกงี่เง่าืคือฝึกแล้วเอาไปตีกัน ไม่ต่างจากนักเลงหัวไม้ หรือพวกเด็กเกเรตีกัน นั่นไม่เอา แต่เขาฝึกให้มี ๑. อายุยืนยาว กว่าอายุขัยจริง เช่น ท่านคูชูกี ตอนพบเจงกิสข่าน อายุมากถึง ๓๐๐ กว่าปี ๒. เป็นอำมตะไม่แก่เฒ่า เช่น หลีชิงสุ่ยและแม่เฒ่าเทีนยซาน ก็ได้แบบนี้ ๓. รักษาโรคภัยไข้เจ็บให้ตัวเองได้ เช่น เตียบ่กี้ ตอนถูกหลอก ถูกทำร้ายก็อาศัยเก้าเอี๊ยงรักษาตัวเองได้ ๔. ฝึกกลับเพศ เช่น ในเพศหญิงจะฝึกเพื่อกลับเป็นเพศชาย ก็ได้ นี่คือ ฤทธิ์ทางกายทั้งนั้น แต่คนทั่วไปคิดว่ามันไม่ใช่ฤทธิ์ เช่น คนที่อายุหลายร้อยปี ไม่ได้ต่อยตีกะใคร ไม่ได้แสดงฤทธิ์อะไร เขาเลยคิดว่าไม่มีฤทธิ์ เรียกว่า "ตาถั่วเอง"


    นี่ผมก็ฝุกฤทธิ์ทางกายด้วยแหละ แต่คงไม่ฝึกแบบงี่เง่าหรอกนะครับ

    ตอบลบ
  9. เอาตัวอย่างง่ายๆ นะ เช่น ร่างกายผมนี่อ่อนแอกว่าคนปกติ ประมาณ ๓ เท่า อันนี้ เป็นกรรมปานาฯ ทำมาแต่หนหลังส่งผลอย่างนี้ แต่ว่า ผมก็ฝึกยังงี้แหละ ตอนผมเริ่มรู้สึกว่าว่าจะมีไข้ จะเป็นหวัด แต่ตัวยังไม่ร้อนดี ยังไม่ถึงกะนอนซม แค่เริ่มๆ จะเป็นแล้ว ผมก็รักษาเลย ภายใน ๑ วันต้องหาย เกินกว่านั้นไม่ได้ เชื้อมันจะมากขึ้นและเราจะจัดการมันได้ยากขึ้น จริงๆ แล้วผมแทบไม่ไ่ด้่เป็นหวัดมาหลายปีแล้ว แต่ในปีนี้ก็เป็นครั้งหนึ่ง แต่ก็หายภายในไม่เกิน ๒๔ ชม. (๑ วัน)


    ถ้าผมไม่อาศัยสิ่งที่ผมฝึกมานี้ มันคงไม่อยู่สบายอย่างที่เป็นอยู่หรอกครับ อันนี้ มันก็ปกติดี เลยเหมือนไม่ได้มีฤทธิ์ไปอวดโชว์ ก็เท่านั้นเอง หุๆๆ

    ตอบลบ
  10. ปล. ศัพท์ทางพุทธที่ผมหยิบยืมมาใช้นั้น ใช้ในความหมายต่างจากต้นฉบับนะครับ คือ ทางพุทธนั้น คำว่า "อิทธิวิธี" หมายรวมถึงฤทธิ์ทางกายและใจไปเลย ส่วนคำว่ามโนมยิทธิ จึงหมายถึงฤทธิ์ทางใจเท่านั้น แต่เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ แบ่งง่ายๆ ผมจึงแบ่งออกเป็นฤทธิ์ทางกาย กับฤทธิ์ทางใจ แล้วหยิบยืมศัพท์มาใช้ดังกล่าว (ซึ่งมีความหมายแตกต่างไปเล็กน้อย ขอให้เข้าใจจุดนี้ด้วยนะครับ)

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ28 ตุลาคม 2555 เวลา 13:32

    ว่างๆอธิบายการฝึกวิชามหาเวทย์ดูดดาวด้วยละกัน สนใจอยู่

    ตอบลบ
  12. มหาเวทย์ดูดดาวนี่ ถ้าจะให้ผมกล่าวถึง ผมก็ไม่ได้มีความรู้จริงอะไรเลย แต่ถ้าปล่อนเสรีให้ "เม้าท์" นะ ผมก็เม้าท์ได้


    อย่างแรก เราต้องเข้าใจก่อนว่า พลังยุทธมีทั้งแบบดึงดูดเข้าและแบบถ่ายออก คนบางคนฝึกทั้งสองแบบ บางคนฝึกเฉพาะบางแบบ ทีนี้เรามาดูในแบบ "ดึงดูดเข้า" ก็แล้วกัน มันมีหลายชนิดย่อยๆ ลงไปอีก เช่น ถ้าเริ่มจากจุดเก่าแก่มากที่สุดตามนิยายกิมย้ง ก็เริ่มจาก "ลมปราณภูติอุดร" ซึ่งจริงๆ แล้วในเรื่องมันมาครึ่งทางเอง มันยังไม่มี "ภูติอุดร" หรือภูติเหนือระดับปรากฏเลย มันแค่ดูดพลังมา แล้วก็เอาไปใช้ทะเลาะตีกัน ทั้งที่จริงแล้วถ้าต่อวิชาจนสำเร็จ มันจะต้องต่อด้วยดูดพลังมาแล้ว ย่อยสลาย (เหมือนย่อยอาหาร) จากนั้น ก็เอาไปสร้าง "ภูติอุดร" แต่ในเรื่องนั้น มาครึ่งทางเอง ส่วนติงชุนชิวเองก็ฝึกไม่ถูก แล้วไปดัดแปลงวิชาเอาเองเป็นวิชาสลายพลัง ดูดพลังมาใช้ไม่ได้ ต่อมา "ต้วนอี้" ได้เอาไปฝึกต่อแล้วรู้จักกับติงชุนชิว ได้เอาแนวทางเข้ามาผสมกันกลายเป็นต้นตำรับของ "มหาเวทย์ดูดดาว" ซึ่งนอกจากจะดูดพลังคู่ต่อสู้แล้ว (ลมปราณภูติอุดรดูดพลังแต่ไม่ได้ทำให้ตายทันที) ยังสลายพลังเขาไปด้วยทำให้คู่ต่อสู้ตายทันทีได้ เรียกว่า อานุภาพในการทำลายล้างเพิ่มขึ้น แต่มีข้อควรระวังบางอย่าง "อันนี้เป็นความลับ" ขอไม่บอก ว่าทำไม เยิ่นฮั่นเทียน ดูดพลังคนอื่นแล้ว ทำไมถึงทำให้ตัวเองตายได้ และเล้งหูชงต้องมาฝึกวิชาเปลี่ยนเส้นเอ็น ไม่เช่นนั้น จะเกิดปัญหากับตัวเองที่ฝึกวิชานี้


    วิชาดูดพลังมีอีกหลายตัว เช่น "เก้าอิม" ก็ดูดพลัง แต่ไม่ดูดพลังจากคนด้วยกัน จะดูดพลังธรรมชาติสายอิม คือ สายเย็น เวลาฝึกต้องนอนบนเตียงหยกเย็น ซึ่งจะมีแต่ในสุสานโบราณเท่านั้น ทว่า เหมยเชาฟง ฝึกผิดไปคิดว่าดูดพลังจากสุสานโบราณ คือ ในป่าช้า เลยไปทำอย่างนั้น ก็กลายเป็นพลังด้่านลบ ไม่ใช่พลังอิมเป็นพลังดำของภูติผีปีศาจ ส่วนเฮ้งเต้งเอี๊ยงก็รู้เรื่องพลังธรรมชาติ "อิมเอี๊ยง" ดี แต่เขาขาดข้อมูลส่วนอิม เลยต้่องการคัมภีร์เก้าอิม ยังไม่ทันฝึกสำเร็จเพราะพลังพื้นฐานของเฮ้งเตงเอี๊ยงมาทางสายเอี๊ยง ก็ถูกรุมฆ่าตายก่อน ต่อมา จิวแปะทง ก็ฝึกได้สำเร็จ เรียกว่า "สองมือขัดแย้ง" ซึ่งถ่ายทอดต่อให้เอี้ยก้วยด้วย ในคัมภีร์เก้าอิม มีสองส่วนคือ ส่วนพลังปราณสายอิม และส่วนกระบวนท่า เช่น กระบวนท่าแส้, กระบวนท่ากงเล็บเทพยดา (ที่คนฝึกผิดกลายเป็นกรงเล็บกระดูกขาว), กระบวนท่าดัชนี (ที่อาจารย์หญิงใช้แล้วชนะเฮ้งเตงเอี๊ยงจนได้ครองสุสานโบราณ) หลักการสำคัญคือ วิชาดัชนีกระบี่หกชีพจร ต้องใช้พลังภายในมาก ถ้ามีไม่พอก็ใช้ไม่ได้ ผู้คิดค้นจึงหาวิธี "ดึงพลังธรรมชาติเข้ามาใช้" ที่เรียกว่า "อิม" เมื่อได้พลังมากแล้ว จะใช้ดัชนีทั้งสิบพร้อมกัน ก็ยังได้ อันนี้ "มู่หยงฝู" เป็นต้นตำรับ คือ เขาได้ปราณภูติอุดรแล้ว ดัดแปลงต่อให้เหมือนดัชนีกระบี่บ้าง แล้วก็สำเร็จจริงๆ ทว่า เขาบ้าไปก่อน ส่วนเอี้ยก้วยจะฝึกบ้าง ก็โดนตัดแขนขาดก่อน (มีคนวางแผนทำเช่นนี้ เพราะกลัวเขาจะเดินตามรอยพ่อ เอี้ยคัง) ทำให้เขาฝึกสองมือขัดแย้งไม่ไ่ด้ แต่ด้วยมีความรู้พื้นฐานด้านพลังอิม ทำให้ต่อยอดไปเป็นวิชาของตนเองได้เหมือนกัน นอกจากนี้ "เตียกุนป้อ" (จางซานฟง) เองก็แอบฝึกวิชา "เก้ามัจจุราช" ซึ่งเขาบอกว่ามันคือ เก้าเอี๊ยง "ซึ่งไม่จริง" เขาโกหกชาวยุทธ์ ปกปิดความลับไว้ มีเพียง "ก้วยเซียง" ที่รู้ เขาเลยไม่กล้าหือกับสำนักง้อไบ้ ถึงกับปล่อยให้แม่ชีมิกจ้อฆ่าลุกศิษย์ (ที่เป็นพ่อแม่ของเตียบ่กี้) ตายทั้งคู่ ก็ไม่ยอมแสดงฝีมือออกมา ใครที่รู้ฝีมือที่แท้จริงของเขา "ต้องตายหมด" เพราะวิชาเก้ามัจจุราช นั่นแหละ (มันไม่ใช่เก้าเอี๊ยงเลยสักนิด) จางซานฟงเองก็ใช้หลักการพลังเก้าอิมนั้น ในการพัฒนาไปเป็นวิชาไทเก็ก มันก็คือ การแอบซ่อนวิชาไม่ดีเอาไว้ ห่อหุ้มด้วยอะไรที่ยอมรับได้ง่าย (สังเกตุว่าไทเก็กนั้น ธรรมดามาก ใครก็ฝึกได้ แต่ไม่มีใครฝึกแล้วเก่งเท่าเขาเลยสักคน?)


    มีอีกวิชาหนึ่งคือ "พลังหยกอำไพ" ขั้นที่เก้า อันนี้ก็ดูดพลังคนอื่นได้เหมือนกัน แต่ไม่มากนัก ไม่ถึงขั้นเอาชีวิต เช่น เอาใช้พลัง ๑ ส่วนปล่อยออกมา ก็ดูดพลังหนึ่งส่วนนั้นไป ถ้าเขาดึงพลังกลับ หรือไม่ปล่อยออกมา ก็ดึงไปไม่ได้ (ต่างจากมหาเวทย์ดูดดาวที่ดึงเอาไปได้เฉยเลย) พลังหยกอำไพเหมือน "ไทเก็กของจางซานฟง" มากที่สุด แต่เพราะมีพลังดัชนีเด็ดบุปผา เป็นพื้นฐานในด้านกระบวนท่า ทำให้ลอกเลียนแบบได้ทั้งกระบวนท่าและพลังปราณ (ในขณะที่ไทเก็กเอาแต่พลังปราณของคู่ต่อสู้มาใช้ ไม่ได้เอากระบวนท่ามาด้วย)


    เอาละ พลังเม้าท์ก็อย่างนี้ แต่ความจริงเป็นยังไง ก็ไม่รู้่หรอกครับ ว่ะ ฮ่าๆๆ

    ตอบลบ
  13. เคล็ดลับของไทเก็ก อยู่ตรงที่ "ฝึกเหมือนไม่ฝึก" ปล่อยตัวไปตามธรรมชาติงั้นเหรอ

    ตอบลบ
  14. ฮ่วย ไม่รู้จะทำงานไรดี แฮะๆๆ :P

    ตอบลบ
  15. จริงๆ แล้ว "ฝึกเหมือนไม่ฝึก" นี้ ไม่ใช่เคล็ดลับของไทเก็ก เป็นเคล็ดของหลวงจีนกวาดลานครับ คนที่ฝึกไทเก็กก็ยังฝึกให้ตัวเองสอดคล้องกับธรรมชาติอยู่ เอาธรรมชาติมาเป็นต้นแบบ ไม่ใช่การฝึกโดยไม่ฝึก ยังฝึกให้ตนเหมือนอยู่ครับ พูดง่ายๆ ก็คือ ยังปรุงแต่งให้ตัวเองเหมือนธรรมชาติอยู่นั่นแหละ ทั้งๆ ที่ "ตัวมันเองก็เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว" ยังจะไปฝึกให้เป็นธรรมชาติอะไรอีก?


    เวลาเราโมโห โมโหแบบเป็นธรรมชาติ ไม่เก็ก (ไทเก็ก) ไม่กั๊ก แต่มีสติ เท่ากันความโกรธ มีปัญญารู้ว่าโกรธอย่างไร แค่ไหน จึงพอดี เหมาะสม นี่ มันไม่ได้เก็กนะ คนที่เกิดปัญญาแล้ว มันเป็นเองตามธรรมชาติเลยครับ

    ตอบลบ
  16. ตกงาน ว่างงาน หางานอะไำรดี?


    ถ้าเรามี "ฉันทะ" กับทุกกิจกรรม ทุกกิจวัตรที่เราทำ แม้ว่าเราจะมีอาชีพหรือไม่มี มันก็มีอิทธิบาทสี่ได้ครับ ตรงข้าม ถ้าเราได้งานทำแล้ว แต่ทำด้วยความเบื่อหน่าย ซ้ำซากจำเจ เราไม่มีทางได้อิทธิบาทสี่ได้เลย วันหนึ่ง ผมได้ยินเด็กผู้หญิงตัวเล็ก ถามป้าดังๆ ว่า "ป้ามีอาชีพอะไร?" ป้าตอบว่า "อาชีพกินข้าว" เด็กคนนั้นก็ตอบว่า "หนูมีอาชีพอาบน้ำ" ผมได้ยินก็อึ้งไปเลย งง? อารายว่ะ? อาชีพกินข้าว อาชีพอาบน้ำ? นั่นแหละครับ ถ้าเรามีฉันทะกับทุกอย่างที่เราทำ มันเป็นอิทธิบาทสี่ได้ทั้งหมด ไม่ต้องร้อนใจ ดิ้นรนไปหาอะไรทำ มีอะไรให้ทำ ก็ทำได้ทั้งหมด เกิดอิทธิบาทสี่ได้ทั้งหมดแหละครับ

    ตอบลบ

เม้าท์ด้วยคน